วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2551

ข่าวน่ารู้


กฏหมายห้ามขี้ยา สูบบุหรี่ในรถยนต์

หลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศฉบับที่ 18 กำหนดให้ผับ บาร์ ร้านอาหาร ตลาดทุกประเภท รวมทั้งสวนจตุจักรเป็นเขตปลอดบุหรี่ มีผลบังคับใช้ 11 กุมภาพันธ์ นี้ ถ้าฝ่าฝืนทั้งคนสูบและเจ้าของสถานที่มีโทษปรับ 2,000-20,000 บาท แล้วนั้น เมื่อวันที่ 27 ม.ค. นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เปิดเผยว่า สำนักงานสาธารณสุข รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ได้ออกกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในรถยนต์และยานพาหนะ ที่มีเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี อยู่ภายในรถด้วย ผู้ใดฝ่าฝืนสูบบุหรี่ ไปป์ ซิการ์ เป็นการกระทำผิดกฎหมาย มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 โดยให้เหตุผลถึงการออกกฎหมายฉบับนี้ว่า เด็กๆไม่ได้รับความคุ้มครองสุขภาพในขณะที่ผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่สูบบุหรี่ในรถ ซึ่งเด็กจะได้รับอันตรายจากควันบุหรี่มือสอง เพราะหากมีคนสูบบุหรี่ในรถจะมีระดับมลพิษที่เป็นอันตรายสูงเป็น 10 เท่าของระดับมาตรฐาน ที่สำนักงานสิ่งแวดล้อมสหรัฐอเมริกากำหนดไว้ นอกจากนี้ การห้ามสูบบุหรี่ในรถยนต์ยังช่วยลดปริมาณของก้นบุหรี่ที่ถูกทิ้งตามถนนหนทาง เป็นแหล่งเกิดขยะที่อาจก่อให้เกิดปัญหาอัคคีภัยตามมา และยังเป็นการช่วยให้ผู้ปกครองหรือญาติของเด็กๆ เลิกสูบบุหรี่ได้ง่ายขึ้นด้วย
นพ.ประกิตกล่าวอีกว่า น่าเป็นห่วงเด็กไทยที่ประเทศ ไทยยังไม่มีกฎหมายแบบนี้ ทั้งๆที่มีข้อมูลยืนยันชัดเจนว่าเด็กๆส่วนใหญ่ยังคงได้รับอันตรายจากการได้รับควันบุหรี่อย่างต่อเนื่อง จากรายงานของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ที่ทำการสำรวจนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-4 ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,067 คน พบว่า พ่อสูบบุหรี่ในรถยนต์ร้อยละ 37.1 ขณะที่ลูกนั่งอยู่ด้วย พ่อสูบบุหรี่ขณะนั่งดูทีวีอยู่กับลูกร้อยละ 25.3 แสดงให้เห็นว่า มีเด็กอีกเป็นจำนวนมากยังคงได้รับอันตรายจากควันบุหรี่มือสอง ที่ส่งผลถึงปัญหาสุขภาพของเด็กมากมาย เช่น โรคติดเชื้อทางระบบหายใจ เนื่องจากควันบุหรี่ไปทำให้ เกิดการระคายเคืองและอักเสบ ทำให้เด็กเป็นไข้ ไอ และหอบ, โรคหอบหืด เพราะสารพิษจากควันบุหรี่ไปทำลายปอดของเด็ก, โรคหูชั้นกลางอักเสบ เพราะควันบุหรี่ไปทำอันตรายทำให้เกิดน้ำในหูชั้นกลาง ซึ่งจะทำให้เด็กมีปัญหาในการได้ยิน เป็นต้น ดังนั้น สิ่งที่ดีที่สุดคือ หากผู้ปกครองเป็นห่วงบุตรหลาน ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ในรถยนต์และในทุกๆที่ที่มีเด็กอยู่ด้วย

ความจริงเกี่ยวกับความรัก

คนดีๆ… ล้วนมีเจ้าของไปหมดแล้ว คนที่ยังเหลืออยู่ … มันก็ต้องมีเหตุผลหละนะ อะไรที่คุณเอะใจว่า มันจะดีเกินจริง… เป็นไปได้มากว่า มันไม่จริง
ความรัก ก็เหมือนการรอรถเมล์….สายที่ไม่อยากขึ้น ก็มาจัง ส่วนสายที่ต้องการจะขึ้น ก็รอไปเถอะ, พอมา ก็ไม่จอด, พอจอด ก็คนแน่น ขึ้นไม่ได้, พอขึ้นได้ รถก็ไปตายกลางทางอีก
ความรักก็เหมือนกับเหรียญ แหวน หรือชิ้นส่วนเล็กๆ เพราะเมื่อไหร่ที่มันหลุดมือตกลงพื้น มันจะต้องกลิ้งไปยังซอกที่มืดที่สุด และลึกที่สุด จนเรามองไม่เห็น และเอื้อมไม่ถึง
รถไฟอาจจะวิ่งบนราง แต่อย่าด่วนสรุปว่า มันวิ่งไปทางไหน โดยดูจากราง เพราะเมื่อเหลียวกลับมามองอีกที รถไฟขบวนนั้นอาจจะวิ่งผ่านคุณไปแล้วก็ได้ สวย หรือหล่อ ไม่ได้อยู่ที่คำจำกัดความ แต่อยู่ที่จินตนาการ
ความรักสวนทางกับกฎฟิสิกส์ นั่นคือ เมื่อเราให้ความรักกับใครมากเท่าไหร่ เราก็จะได้รับตอบแทนกลับมาเป็นส่วนผกผันกลับ
เมื่อไหร่ที่ฝ่ายหนึ่งบอกว่า "เป็นเพื่อนกัน" แปลว่า "ต้องการจะเลิกคบกัน"
เมื่อไหร่ที่ฝ่ายหนึ่งบอกว่า "มีอะไรต้องคุยกัน" แปลว่า "ไม่ต้องการคุยกันอีกแล้ว"
ความรักทำให้คนตาบอด

เพลง ดอกแก้วกัลยา


เนื้อเพลง : ดอกแก้วกัลยาศิลปิน : ผู้พิการทางสายตา
แก้วกัลยา ทรงคุณค่าเหนือจิตใจ

คือดอกไม้แห่งความรัก และการแบ่งปัน

องค์พระพี่นาง พระราชทานเป็นมิ่งขวัญ

ให้ผองผู้พิการ ไทยทั้งปวง
* ดอกไม้ฟ้า แห่งกรุณา ประทานลงมาแสนชื่นใจ

ดั่งดอกไม้จากเทวาลัยจากแดนสรวง

ดอกไม้ฟ้า แก้วกัลยา แทนใจทั้งดวง

แทนความรัก ความเป็นห่วง ความชื่นชม
ขาดแขนขา หรือดวงตามองไม่เห็น

ใช่จะลำเค็ญ ใช่จะทุกข์หรือตรอมตรม

ยังมีหัวใจ สู้ต่อไปอย่างสุขสม

คือชีวิตที่ชื่นชมโลกงดงาม
( ซ้ำ * , * )

ตามรอยสมเด็จเจ้าฟ้าเผยแผ่พระไตรปิฎก

ตามรอยสมเด็จเจ้าฟ้าเผยแผ่พระไตรปิฎก


บทความ เกี่ยวกับ สมเด็จพระพี่นางฯ สมเด็จพระพี่นางเธอฯ ในพระกรณียกิจสำคัญด้านพุทธศาสนา ซึ่ง สมเด็จพระพี่นางฯ สมเด็จพระพี่นางเธอฯ ทรงเป็นประธานกิตติมศักดิ์การประดิษฐาน พระไตรปิฏก ฉบับสากล อักษรโรมัน ฉบับแรกของโลก แก่นานาประเทศ

พระกรณียกิจสำคัญด้านพุทธศาสนาของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ คือ ทรงเป็นประธานกิตติมศักดิ์การประดิษฐานพระไตรปิฎกฉบับสากล อักษรโรมัน ฉบับแรกของโลก แก่นานาประเทศ ตามรอยพระไตรปิฎกบาฬี อักษรสยาม สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระบรมอัยกาธิราชของพระองค์ เมื่อ 114 ปีก่อน สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มีพระกรณียกิจสำคัญด้านการส่งเสริมพระพุทธศาสนาด้วยการเผยแผ่พระไตรปิฎกสากลสู่โลก โดย "มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชนในพระบรมราชินูปถัมภ์" ซึ่งสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทรงเป็นประธานก่อตั้งและประธานกิตติมศักดิ์ และ "กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ" ซึ่งพระองค์ท่านทรงเป็นประธานกิตติมศักดิ์ การพระราชทานและประดิษฐานพระไตรปิฎกในนานาประเทศ ร่วมกันจัดพิมพ์พระไตรปิฎกเพื่อเผยแผ่พระไตรปิฎกฉบับสากล ภาษาโรมัน ชุดสมบูรณ์ 40 เล่ม ชุดแรกของโลกขึ้น ต่อมาเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2548 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จจาริกสู่ศรีลังกาตามคำกราบทูลเชิญของประธานาธิบดีแห่งศรีลังกา เพื่อพระราชทานพระไตรปิฎกสากลชุดปฐมฤกษ์ของโลก อันเป็นการเผยแผ่พระธัมมทานตามรอยพระไตรปิฎก ฉบับ "จุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช ร.ศ.112" อักษรสยามซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแก่สถาบันสำคัญต่างๆ กว่า 260 แห่งทั่วโลกใน 30 ประเทศ เมื่อศตวรรษที่แล้ว "...ข้าพเจ้าตระหนักดีว่า เป็นเกียรติพิเศษยิ่งใหญ่ที่ในบรรดาประมุขผู้นำประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา ข้าพเจ้าได้รับเลือกให้เป็นผู้รับมอบพระไตรปิฎกชุดแรกนี้ และข้าพเจ้ารู้สึกปลื้มปีติที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้เสด็จจาริกสู่ประเทศศรีลังกา เพื่อพระราชทานพระไตรปิฎก ข้าพเจ้าขอถือโอกาสนี้ถวายพระพรชัยมงคลให้ทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน..." สาส์นจาก จันทริกา บันดาราไนยเก กุมาราตุงคะ ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา กราบทูลเชิญเสด็จเพื่อพระราชทานพระไตรปิฎกสากล พระไตรปิฎกสากลอักษรโรมัน 1 ชุด มี 40 เล่ม พระราชทานแก่สถาบันสำคัญทั่วโลกรวม 1,000 ชุด ถือเป็นพระไตรปิฎกบาฬี อักษรโรมัน ชุดที่สมบูรณ์ชุดแรกของโลก เป็นคลังอารยธรรมทางปัญญาสูงสุดของมนุษยชาติที่สืบทอดมากว่า 2,500 ปี อันเป็นผลมาจากการประชุมสังคายนาสากลของพระสงฆ์ 2,500 รูป ระดับนานาชาติ เมื่อ พ.ศ. 2500 และมีการตรวจทานใหม่-จัดพิมพ์เป็นอักษรโรมันในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ผู้เสด็จไปทรงร่วมสังคายนาพระไตรปิฎกฉบับนี้ โดยใช้เวลาถึง 6 ปี ในการจัดพิมพ์ เพื่อเป็นธัมมทานอันเป็นการสืบสานบวรพุทธศาสนา ตามพระราชศรัทธาในสมเด็จพระปิยมหาราช "พระไตรปิฎก" เป็นคัมภีร์รวบรวมพระพุทธวจนะอันเป็นคำสอนแสดงธัมมะเพื่อดับทุกข์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นพระบรมศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จำแนกออกเป็น พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธัมมปิฎก มีพระธัมมขันธ์ 84,000 พระธัมมขันธ์ พระพุทธองค์ตรัสไว้ในกาลสมัยใกล้เสด็จดับขันธปรินิพพานว่า "ดูกรอานนท์ ธัมมะ และวินัยใดที่เราได้แสดงแล้วบัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธัมมะและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลายเมื่อเราล่วงลับไป" สาระสำคัญของพระไตรปิฎกบาฬีฉบับสังคายนาสากลนานาชาติ พ.ศ. 2500 พิมพ์เป็นอักษรโรมันแล้วเสร็จครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2548 ซึ่งใน 1 ชุด มี 40 เล่ม โดยสันปกแบ่งสีของเนื้อหาพระไตรปิฎก ดังนี้ พระวินัยปิฎก สันปกสีส้ม, พระสุตตันตปิฎก สันสีเขียว พระสุตตันปิฎก เนตติเปฏโกปเทสปาฬิ และมิลินทปัญหาปาฬิ สันปกสีขาว และพระอภิธัมมปิฎก สันปกสีน้ำเงิน "พระวินัยปิฎก" เป็นการประมวลพุทธพจน์หมวดพระวินัย คือ พุทธบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียม และการดำเนินกิจการต่างๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ แบ่งเป็น 5 คัมภีร์ ส่วน "พระสุตตันตปิฎก" เป็นการประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือ พระธัมมเทศนา คำบรรยายหรืออธิบายธัมม์ต่างๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคลและโอกาส ตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่าและเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา แบ่งเป็น 5 นิกาย "พระสุตตันปิฎก เนตติ-เปฏโกปเทสปาฬิ" เป็นคัมภีร์ที่รองรับและรักษาความเข้าใจในพยัญชนะ อรรถ ของพระไตรปิฎกบาฬีไว้ให้ถูกต้อง ส่วน "มิลินทปัญหาปาฬิ" เป็นคัมภีร์มิลินทปัญหาเป็นการถาม-ตอบปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาสาระในพระไตรปิฎก ระหว่างพระเจ้ามิลินท์กับพระอรหันต์นาคเสนเถระ และ "พระอภิธัมมปิฎก" เป็นประมวลพุทธพจน์หมวดอภิธัมม์ คือ หลักธัมม์และคำอธิบายที่เป็นเนื้อหาวิชาการล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ แบ่งเป็น 7 คัมภีร์ อย่างไรก็ตามตลอด 3 ปีที่ผ่านมา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงบำเพ็ญบุญกิริยาตามรอยพระไตรปิฎกบาฬี อักษรสยาม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมอัยกาธิราช โปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์และพระราชทานไปยังสถาบันสำคัญทั่วโลกเช่นเดียวกัน "...ขอหวังว่า พระไตรปิฎกศึกษานานาชาติในสถาบันสำคัญทั่วโลกนี้ จักให้ความรู้และความเข้าใจใหม่แก่โลกปัจจุบัน ช่วยเสริมสร้างความรู้ในวิทยาการทั้งหลาย ให้ลึกซึ้งสู่หลักธัมมะในพระไตรปิฎก และบูรณาการเป็นฐานปัญญาเพื่อสันติสุขและมั่นคงในโลกต่อไป..." ส่วนหนึ่งของพระดำรัสสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จากหนังสือพระไตรปิฎกสากล : อารยธรรมทางปัญญา นำสันติสุขและความมั่นคงสู่โลก ซึ่งจัดพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก ในพิธีสมโภชและพระราชทานพระไตรปิฎกสากลแก่ประธานศาลฎีกา สำหรับประดิษฐาน ณ ศาลฎีกาแห่งราชอาณาจักรไทย เมื่อวันอังคารที่ 11 ธันวาคม 2550 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เสด็จจาริกพระราชทานพระไตรปิฎกสากล ในปี พ.ศ. 2548 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จจาริกพระราชทานพระไตรปิฎกสากลฉบับปฐมฤกษ์ ณ กรุงโคลัมโบ สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา โดยพระราชทานพระไตรปิฎกแก่ประธานาธิบดีแห่งประเทศศรีลังกา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2548 จากนั้นได้พระราชทานพระไตรปิฎกสากล แก่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2548 และพระราชทานพระไตรปิฎกสากลเพื่อประดิษฐานคู่กับพระไตรปิฎกฉบับอักษรสยาม ณ หอสมุดคาโรลีน่า เรดิวีว่า มหาวิทยาลัยอุปซาลา ราชอาณาจักรสวีเดน เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2548 ต่อมาปี พ.ศ. 2549 ได้พระราชทานพระไตรปิฎกสากล แก่ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา ณ รัฐสภาแห่งศรีลังกา กรุงโคลัมโบ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2549 จากนั้นปี พ.ศ. 2550 พระราชทานพระไตรปิฎกสากล แก่กระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร วันที่ 6 มีนาคม 2550 พระราชทานพระไตรปิฎกสากล ณ นครโอซากาและกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น วันที่ 8 เมษายน และ 15 กันยายน 2550 พระราชทานพระไตรปิฎกสากล แก่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เนเธอร์แลนด์ และสมาคมมหาโพธิแห่งอินเดีย พุทธคยา สาธารณรัฐอินเดีย "ดังที่เราได้ทราบว่าพระไตรปิฎกสากลเป็นของพระราชทาน เพื่อปัญญาและสันติสุขจากประชาชนชาวไทย ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ในฐานะที่เป็นองค์กรหลักด้านตุลาการขององค์การสหประชาชาติ ได้อุทิศการทำงานเพื่อเหตุแห่งสันติภาพ ความคิดในการก่อตั้งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้กำเนิดขึ้นเมื่อ 100 ปีมาแล้ว จากการประชุมสันติภาพแห่งกรุงเฮก ความปรารถนาของนานาชาติคือความต้องการนำข้อขัดแย้งให้ยุติอย่างสันติแทนการก่อสงครามระหว่างกัน ภายใต้กฎบัตรแห่งสหประชาชาติศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีอำนาจในการรักษาสันติภาพและความมั่นคงโดยการยุติข้อขัดแย้งทางกฎหมายตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ เราได้ยึดมั่นที่จะป้องกันในความเคารพในกฎหมายระหว่างประเทศ และส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างชาติในทางสันติสุข เราจึงมีความยินดีที่ได้รับพระราชทานสิ่งนี้แก่เราตามปณิธานดังกล่าว" คำกล่าวโดย ตุลาการรอสลิน ฮิกกิ้นส์ ประธานศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2550